สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

หลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

(Bachelor of Arts Program in Tourism and Hotel)

ปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและการโรงแรม)

ชื่อย่อ (ไทย) : ศศ.บ. (การท่องเที่ยวและการโรงแรม)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts (Tourism and Hotel)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.A (Tourism and Hotel)

วิสัยทัศน์

มุ่งผลิตบุคลากรในสาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและเป็นที่เชื่อถือ โดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งส่งเสริมการให้การบริการทางวิชาการแก่สังคม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบดั้งเดิม

ปรัชญา

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพ ด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะในการสื่อสาร มีจิตอาสาในการบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีทักษะในการแก้ปัญหา

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
  • คุณสมบัติอื่นตามระเบียบหรือข้อบังคับมหาวิทยาลัย

แนวทางอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • มัคคุเทศก์
  • พนักงานสายการบิน
  • พนักงานบริษัทนำเที่ยว
  • เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวในหน่วยงานภาครัฐ
  • พนักงานโรงแรม
  • พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
  • พนักงานในธุรกิจบริการต่างๆ

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

  1. กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 117 หน่วยกิต

  1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 24 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาเนื้อหาบังคับ 42 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาเนื้อหาเลือก 45 หน่วยกิต
    – กลุ่มวิชาการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
    – การโรงแรม ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
    – กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ เลือกกลุ่มภาษา ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 6 หน่วยกิต
    – การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 หน่วยกิต
    – ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต หรือ
    – สหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

ทุนการศึกษา

  1. ทุนมหาวิทยาลัยประเภททุนเรียนดี และทุนฐานะยากจน
  2. ทุนยืมฉุกเฉินกรณีนักศึกษามีเหตุฉุกเฉินต้องการกู้ยืม
  3. กองทุนกู้ยืมทางการศึกษาทั้งรายเก่า และรายใหม่ (กยศ.)
  4. ทุนประจำปีจากองค์กร มูลนิธิ หรือบุคคลให้โดยไม่มีข้อผูกพัน