สีประจำคณะ
สีแสด – ดำ
แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน
ปรัชญา
“คุณธรรม นำวิชาการ”
วิสัยทัศน์
“บูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาการจัดการ สร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน”
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีคุณธรรม มีความรู้ด้านวิชาการ กว้างไกลไปกับเทคโนโลยี นวัตกรรม สำนึกรักความเป็นไทย
2. บริการวิชาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ตามแนวพระราชดำริ
3. วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมโดยบูรณาการทุกภาคศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. สร้างความร่วมมือและขยายเครือข่ายกับชุมชน สถานศึกษาภาครัฐและภาคธุรกิจ
5. บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล
6. ทำนุบำรุง สืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทเลย ท้องถิ่นไทย
นโยบายในการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการคณะมีนโยบาย 7 ด้าน ดังนี้
1. ด้านวิชาการ
2. ด้านบุคลากร
3. ด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ
4. ด้านประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
5. ด้านศิลปวัฒนธรรม
6. โครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ
7. ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บรรลุพันธกิจดังกล่าว คณะวิทยาการจัดการจึงกำหนด วัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
3. เพื่อประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาท้องถิ่น
4. เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาความสามารถของบุคลากร
5. เพื่อค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่นำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ และบริการวิชาการสู่ท้องถิ่น
6. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ทำนุบำรุงขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
7. เพื่อให้ความรู้ ส่งเสริม เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ สู่ชุมชน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้
อัตลักษณ์ของนักศึกษา
“บุคลิกดี จิตอาสา พัฒนาท้องถิ่น”
อัตลักษณ์ของบัณฑิต
“บัณฑิตดี มีวินัย ใฝ่อาสา พัฒนาตนเองและท้องถิ่น”
ค่านิยมร่วม
ด้วยคำว่า “FMS-LRU” (Faculty of Management Science)
Freedom หลักความเสรี
Morality ยึดมั่นคุณธรรม
Success สำเร็จตามเป้าหมาย
Local เชื่อมโยงชุมชน
Relationship สัมพันธ์ภาพภายในและภายนอก
Unity ความสามัคคี
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
บัณฑิตของคณะวิทยาการจัดการ กำหนดให้มีคุณลักษณะเป็นไปตามกรอบของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย คือ
1. เป็นเลิศทางวิชาการ
2. ทักษะพื้นฐานดี
3. มีคุณธรรมและจริยธรรม
4. นิยมความเป็นไทย