หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administrator Program in Logistics Management
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A (Logistics Management)
คุณสมบัติของผู้สมัคร
- ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามประกาศ หรือเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
- ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
โครงสร้างหลักสูตร
วิชาที่จะได้เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาแกนบริหารธุรกิจ 45 หน่วยกิต
– ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ 1
– ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ 2
– กฎหมายธุุรกิจและการพาณิชย์
– เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการธุรกิจ
– จริยธรรมทางธุรกิจ
– หลักการวิจัยทางธุรกิจ
– หลักการบัญชีชั้นต้น
– การเงินธุรกิจ
– การภาษีอากร
– หลักการตลาด
– หลักการจัดการ
– การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
– การจัดการทรัพยากรมนุษย์
– การจัดการเชิงกลยุทธ์
- กลุ่มวิชาเนื้อหาเลือก ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
– โปรแกรมสำเร็จรูปและการประยุกต์ใช้งานด้านธุรกิจ
– การจัดการการเงินระหว่างประเทศ
– การจัดการการลงทุนสำหรับโลจิสติกส์
– การตลาดระหว่างประเทศ
– ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
– แคลคูลัส
– เศรษฐศาสตร์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจ
– การจัดการความเสี่ยงสำหรับโลจิสติกส์
– การจัดการโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม
– การวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์
– การวิเคราะห์ระบบโลจิสติกส์
– บรรจุภัณฑ์สำหรับโลจิสติกส์
– การจัดการการขนถ่ายวัสดุ
– เศรษฐศาสตร์การขนส่ง
– การจัดการการขนส่งทางน้ำ
– การจัดการการขนส่งทางอากาศ
– การจัดการการขนส่งสินค้าโดยระบบราง
– การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
– การประกันภัยสำหรับโลจิสติกส์
– สัมมนาการจัดการโลจิสติกส์
-โครงงานสำหรับการจัดการโลจิสติกส์
***มีวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารธุรกิจและสหกิจศึกษา
- กลุ่มวิชาเนื้อหาบังคับ 33 หน่วยกิต
– การจัดการนำเข้าและส่งออก
– หลักการจัดการโลจิสติกส์
– การจัดการโซ่อุปทาน
– การจัดการคลังสินค้า
– การจัดการสินค้าคงคลัง
– การจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า
– โลจิสติกส์กับการพัฒนาเศรษฐกิจในอาเซียน
– การจัดการการจัดหาและจัดซื้อ
– การขนส่งทางบกและการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน
– เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์
– การวิจัยดำเนินการโลจิสติกส์
ความสำคัญของโลจิสติกส์
จากการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ (GMS-EC) ประกอบด้วย 5 ประเทศ และ 1 มณฑล คือ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม และมณฑลยูนนาน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้าในการลงทุนทั้งภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ
ในปี 2558 ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน (AEC) เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนสินค้าบริการ การลงทุนและแรงงานระหว่างประเทศสมาชิก โดยเสรีส่งผลต่อการได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ซึ่งในปัจจุบันขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถ ทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับวางแผน จึงทำให้ปัจจุบันมีความต้องการกำลังคนทางด้านโลจิสติกส์ค่อนข้างสูง
กิจกรรมและการอบรม สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
- อบรม สัมมนา พัฒนาทักษะต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
- ศึกษาดูงานด้านโลจิสติกส์ภายในประเทศ
- ศึกษาดูงานในกลุ่มประเทศสมาชิกเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
- เจ้าหน้าที่ศุลกากร
- งานด้านการนำเข้า-ส่งออก
- งานจัดซื้อ จัดหา พัสดุ ทั้งภายในและต่างประเทศ
- งานด้านการขนส่งและกระจายสินค้า
- งานด้านคลังสินค้า